วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2561


เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้ เพื่อนๆ นำเสนอคำคมเกี่ยวกับการบริหาร สัปดาห์นี้ 3 คน




เทคนิคการเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีสำหรับการเป็นผู้บริหาร



ความหมายของบุคลิกภาพ

     ลักษณะทั้งภายนอกและภายในที่รวมอยู่ในตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งและเป็นผลทำให้บุคคลนั้น มีความแตกต่างไปจากบุคคลอื่นๆ บุคลิกภาพแบ่งออกเป็น 2 สภาพ ด้วยกันคือ
  1. บุคลิกภาพภายนอก สามารถสังเกตเห็นหรือสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย 
  2. บุคลิกภาพภายใน หมายถึง บุคลิกภาพที่ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ถ้าไม่แสดงออก
ประเภทของบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพภายนอก  คือ  สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากภายนอกของแต่ละคนสามารถที่จะปรับปรุง
แก้ไขได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน แบ่งได้เป็น  หมวด คือ
1.  รูปร่างหน้าตา
2.  การแต่งกาย
3.  กิริยาท่าทาง
4.  การพูด
บุคลิกภาพภายใน  คือ สิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ หรืออุปนิสัยใจคอที่มองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้  
แก้ไขได้ยาก  เช่น
1. ความเชื่อมั่นในตนเอง  
2. ความกระตือรือร้น
3. ความรอบรู้  
4. ความคิดริเริ่ม
5. ความจริงใจ  
6. ไหวพริบปฏิภาณ
7. ความรับผิดชอบ  
8. ความจำ
9. อารมณ์ขัน
สาเหตุที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ คือความท้อถอย
    บุคลิกภาพที่ไม่สร้างสรรค์และอยู่ภายในตัวตนแล้วทำให้ความเป็นคนๆ นั้นไม่สมบูรณ์ ได้แก่
ความท้อถอยแม้ว่าเป็นประโยคสั้นๆ  ท้อถอยมักเกิดขึ้นกับบุคคลที่อยู่ในช่วงอายุ 20-40 ปี แต่ก็
ไม่ได้หมายความว่าบุคคลในช่วงอายุอื่นจะไม่มีความท้อ บางท่านอาจเกิดอาการท้อเป็นช่วงๆ 
บางท่านโชคดีไม่รู้จักความท้
ความท้อถอยสามารถสังเกตได้จากอาการ 3 ลักษณะ คือ
1. ลักษณะของความท้อถอยทางด้านอารมณ์ 
  
2. ลักษณะของความท้อถอยที่เกิดจากสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น
3. ลักษณะความท้อถอยที่เกิดจากความไม่ประสบผลสำเร็จ
สาเหตุของความท้อถอย

ด้านบุคลิกภาพ

ด้านอายุ

ด้านสมรรถภาพการสมรส

ด้านปฏิบัติงานในการรับผิดชอบ

แนวทางและวิธีการในการแก้ไขอาการท้อถอย

1. ทุกสิ่งทุกอย่างต้องแก้ไขที่ตัวเราเองเท่านั้น 

2. อย่าเป็นคนตั้งความหวัง ความปรารถนาที่สูงสุดเอื้อม
 
3. สร้างเจคติเรื่องงานใหม่ให้ท่านคิดว่า

4. มองหาจุดมุ่งหมายในชีวิตใหม่ 

ครูกับการพัฒนาตน

1. การพัฒนาตนเป็นการที่บุคคลหาวิธีการที่เหมาะสมเพื่อให้ตนเองก้าวไปสู่บุคลิกภาพที่ดี

2. ครูควรพัฒนาตนเองไปใน 2 ลักษณะ

        2.1 การพัฒนาตนไปทางด้านวิชาชีพ

        2.2 การพัฒนาตนในด้านการเป็นสมาชิกของสังคม

การพัฒนาตนเองควรประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้

1. พยายามค้นพบตนเอง ทำความรู้จักตนเอง

2.  เมื่อได้พิจารณาตนเองแล้ว รู้จักตนเองแล้ว เรายอมรับได้ไหมว่า สิ่งนั้นคือตัวเรา

3. ท้ายที่สุด คือ การหาทางพัฒนาจุดอ่อนหรือส่วนที่เราไม่พอใจที่อยู่ในตัวเรา

หลักและวิธีเสริมสร้างบุคลิกภาพ

     การยืน เดิน นั่งเป็นส่วนสำคัญที่บอกถึงบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลอิริยาบถการปฏิบัติตน

ในงานเลี้ยงต่างๆการไปเยี่ยมคนป่วยการมอบดอกไม้แสดงความยินดีหรือให้ผู้อาวุโสอาจจะ

ต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ทันได้เตรียมตัวเตรียมใจ และอาจเกิดอะไรขึ้นกับเราได้ทุกวินาที

นั้น เป็นต้น

แนวทางในการพัฒนาบุคลิกภาพ

    การรักษาสุขภาพอนามัย

    การดูแลร่างกาย

    การแต่งกาย

    อารมณ์

    ความเชื่อมั่นในตนเอง

การพัฒนาบุคลิกภาพด้านความรู้สึกนึกคิด

    ความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ถ้ามีความรู้สึกนึกคิดในด้านดี ไม่มองคนใน

แง่
ร้ายจิตใจก็
เป็นสุข ไม่มีความกังวล ดังนั้นจึงควรพัฒนาบุคลิกภาพด้านความรู้สึกนึกคิด

การพัฒนาบุคลิกภาพด้านกายบริหารทรวดทรง

   องค์ประกอบของทรวดทรง ขึ้นอยู่กับกลไกของการเคลื่อนไหวของร่างกายและโครงสร้าง

ของร่างกาย
ไม่ว่าหญิงหรือชายก็ชอบที่จะมีรูปร่างงามทั้งนั้น ผู้ชายก็ต้องการมีรูปร่างสมาร์ท

ผู้หญิงก็ต้องการมีเอว
บาง ร่างน้อย มีสุขภาพดี
จะไม่เพียงทำให้มีรูปร่างสง่างามเท่านั้น ยัง

สามารถทำให้การปฏิบัติงานเกิด 
ความเชื่อมั่น  งานก็มีประสิทธิภาพอีกด้วย

การปรับปรุงบุคลิกภาพภายใน

  •           การยอมรับความจริงเกี่ยวกับตนเอง 
  •           การปรับปรุงในส่วนที่จะปรับปรุงได้ 
  •           การใช้สิ่งอื่นๆ เพื่อส่งเสริมบุคลิกภาพ
การพัฒนาบุคลิกภาพด้านการเรียนรู้

    ในโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นครูจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้

และ
เพิ่มพูน
ประสบการณ์ให้ตรงกับตนเองอยู่เสมอ
ประเมินตนเอง

มาเรียนตรงเวลา แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบ

ประเมินเพื่อน

เพื่อนแต่งการถูกระเบียบ มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น

ประเมินห้องเรียน

ห้องเรียนสะอาดกว้าง  บรรยากาศเหมาะสมกับการเรียน โต๊ะเพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา 


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2561

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ


****ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก สอบกลางภาค






วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2561


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2561

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

        กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้ เพื่อนๆ นำเสนอคำคมเกี่ยวกับการบริหาร สัปดาห์นี้ 3 คน


นำเสนอคำคมเกี่ยวกับการบริหาร 





กลุ่มที่ 1 

      งานวิจัย เรื่อง รูปแบบการพัฒนาระบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษา สู่ความเป็นเลิศระดับสากล



สะท้อนองค์ความรู้ที่ได้จากวิจัย
   ความรู้ที่ได้จากวิจัยครั้งนี้คือ การบริหารสถานศึกษาในโรงต่างๆ จะเห็นได้ว่าการบริหารและการจัดการ
เป็นกลไกในการขับเคลื่อนให้เกิดการดำเนินงาน บรรลุเป้าหมายคือด้านผลลัพธ์แต่จะบริหารและจัดการ
อย่างไรจึงจะเกิดประสิทธิภาพนั้นผู้ริหารสำคัญที่สุดเพราะผู้บริหารเป็นผู้กำหนดทิศทางการทำงาน ผู้
บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพทั้งหลายล้วนเป็นผู้นำทางวิชาการ มีความคิดริเริ่ม มีวิสัยทัศน์ มี
ความรอบรู้ มีความสามารถในการจัดโครงสร้างและจัดบุคลากรให้เหมาะกับศักยภาพ ส่งเสริมให้มีการจัด
หลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น ส่งเสริมพัฒนานวัตกรรม พัฒนาบุคลากร พัฒนา ผู้
เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์รอบด้านทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา สิ่งสำคัญอีก

กลุ่มที่ 2

       งานวิจัย เรื่อง การบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารตามทัศนะของครูในโรงเรียน เครือข่ายที่49 สำนักงานเขตคลองสามวา สังกัดกรุงเทพมหานคร 


สะท้อนองความรู้ที่ได้จากวิจัย
      จากการศึกษาวิจัยเรื่องการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารตามทัศนะของครูในโรงเรียน เครือข่ายที่ 49 สำนักงานเขตคลองสามวา สังกัดกรุงเทพมหานคร ได้ความรู้จากการศึกษาวิจัย ดังนี้ ได้เห็นแนวคิด ทฤษฎี หลักการต่างๆ ของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป สำหรับการบริหารงานวิชาการมีการจัดตั้งและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ให้ครูและนักเรียนใช้ทั้งในและนอกโรงเรียน ทางด้านการบริหารงบประมาณ มีการดำเนินการจัดทำบัญชีการเงินถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ มีการจัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สินและบัญชีวัสดุ ควบคุมบำรุงรักษาพัสดุและมีการตรวจสอบพัสดุประจำปี และด้านการบริหารงานบุคคลมีการส่งเสริมและให้การสนับสนุนการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีการส่งเสริมสร้างขวัญ และกำลังใจโดยการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีและมีคุณงามความดีและ เสริมสร้างและพัฒนาวินัย คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 

 กลุ่มที่ 3
   งานวิจัย เรื่อง รูปแบบการบริหารโรงเรียนสาธิตปฐมวัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏ



สะท้อนองค์ความรู้ที่ได้จากวิจัย
          การบริหารและหลักการบริหารการจัดการมีความสำคัญในการวางระบบการบริหารโรงเรียน โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเป็นรูปแบบ และแนวคิดในการบริหารที่จะต้องกระจายอำนาจการบริหารทำให้สถานศึกษามีอำนาจและความรับผิดชอบในการบริหารมีความคล่องตัวและมีอิสระมากขึ้นในการตัดสินใจ การสร้างประสิทธิภาพของโรงเรียนควรเน้นการบริหารการจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานอย่างชัดเจน และเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้

 กลุ่มที่ 4

   งานวิจัย เรื่อง การบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนในอำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1



สะท้อนองความรู้ที่ได้จากวิจัย
     ประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา ย่อมขึ้นอยู่กับผู้บริหารเป็นสำคัญ ภายใต้ข้อจำกัดของการบริหารโรงเรียน เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้การปฏิบัติงานของผู้บริหารบรรลุผลตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนด คือ การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียน ซึ่งการบริหารการศึกษาในสถานศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาประสบผลสำเร็จและสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษานั้น  ปัจจัยสำคัญต่อการเสริมสร้างการเรียนรู้ใน โรงเรียน คือ ระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และการมีส่วนร่วมวามร่วมมือในการปฏิบัติงาน ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  และ ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
กลุ่มที่ 5

   งานวิจัย ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 



สะท้อนองความรู้ที่ได้จากวิจัย
  1. ได้รับความรู้เรื่องทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 และได้รับความรู้ใหม่เกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษาในศตวรรษที่21เพิ่มมากขึ้น
  2. ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ศึกษา  ค้นคว้า  และแก้ปัญหาจากการทำงานเพื่อแสดงศักยภาพที่มีอยู่ให้เห็นว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการทำวิจัย
  3. ได้ฝึกทักษะกระบวนการทำงาน การแก้ไขปัญหา มีความรับผิดชอบและได้ฝึกการวางแผนการทำงานเพื่อนำความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปปรับใช้ในการศึกษาต่อไป

 กลุ่มที่ 6

     งานวิจัย การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จังหวัดขอนแก่น



สะท้อนองความรู้ที่ได้จากวิจัย
      จากผลการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาพบว่า สถานศึกษาในแต่ละพื้นที่ต้องการผู้บริหารที่มีคุณภาพ การเป็นผู้บริหารที่ดีนั้นควรมีหลักในการยึดถือปฏิบัติ ได้แก่ หลักด้านนิติธรรม ด้านคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักแห่งความคุ้มค่า ซึ่งคุณธรรมเป็นหัวใจสำคัญของการเป็นผู้บริหาร วิธีเทคนิคการบริหารวิธีนี้จะช่วยให้การบริหารเกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุด องค์กรมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามมาด้วย

ประเมินตนเอง
  • มาเรียนตรงเวลา แต่งกายมาเรียนถูกระเบียบ

ประเมินเพื่อน
  • เพื่อนแต่งการถูกระเบียบ มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น

ประเมินห้องเรียน
  • ห้องเรียนสะอาดกว้าง  บรรยากาศเหมาะสมกับการเรียน โต๊ะเพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 วันพุธที่ 18 เมษายน  พ.ศ. 2561 เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ       กิจกรรมการเรียนการสอนวันน...